“Team up” กุญแจสำคัญ บริหารคนดึงศักยภาพที่มี

Last updated: 27 ม.ค. 2567  |  174 จำนวนผู้เข้าชม  | 

YDM แนะ “Team up” กุญแจสำคัญ เสริมศักยภาพแบรนด์

 YDM Thailand เปิด 3 รากฐานมาร์เก็ตติ้งทรานส์ฟอร์ม พร้อมเผย 4 ขั้นตอน เลือก MarTech ที่ใช่ตอบโจทย์แบรนด์ ชู CDP ตัวช่วยเริ่มต้นทรานส์ฟอร์มการตลาด ด้วยจุดเด่นใช้งานง่าย ติดตามข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ


STEPS Academy แนะทริค 6 ขั้นตอนทำความรู้จักแบรนด์สร้างจุดแข็งเพิ่มโอกาสธุรกิจ ชี้ “Team up” คือกุญแจสำคัญ บริหารคนดึงศักยภาพที่มี ผนึก Outsource ที่ปรึกษาด้านการตลาดหนุนกำลังเชิงกลยุทธ์ ทำงานร่วมกับข้อมูลในการทรานส์ฟอร์มการตลาดอย่างยั่งยืน พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ทักษะใหม่บนภาวะแข่งขันทางการตลาด



ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด เอเจนซี่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล เล่าว่า รากฐานของความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์มทางการตลาดมี 3 องค์ประกอบหลักที่สำคัญ คือ คน กระบวนการ และเทคโนโลยี จากประสบการณ์ทำงานของ YDM ร่วมกับแบรนด์ในการทรานส์ฟอร์มการตลาดสู่ดิจิทัล พบว่าองค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุดคือ “คนในองค์กร


โดยเฉพาะในระดับผู้บริหาร โดยส่วนมากจะติดกับดักวิธีการคิดและการทำงานแบบเดิมๆ ทำให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ยาก แต่ถ้าแบรนด์ได้ทีมทำงานที่มีวิธีคิดที่ถูกต้อง การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน และการเลือกเทคโนโลยี MarTech ที่เหมาะสมมาใช้เพื่อการทรานส์ฟอร์มทางการตลาดก็สามารถเพิ่มโอกาสความสำเร็จสูงตามไปด้วย



ณัฐพล จิตงามพงศ์
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายดาต้าเทคโนโลยี บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด เล่าว่า ในส่วนของการปรับกระบวนการทำงาน แบรนด์ต้องมีการปรับวิธีการมอง Segment ผู้บริโภคเป็นแบบ Behavioural Journey Based Segmentation โดยจะต้องทำการเก็บข้อมูลในทุก Touchpoints ทั้ง online และ offline โดยเก็บไว้ใน CDP (Customer Data Platform)


ทั้งนี้เพื่อทำความรู้จักกับผู้บริโภคแต่ละคนในเชิงลึก เพื่อปลดล็อควิธีการทำการตลาดแบบใหม่โดยการใช้ Data และ MarTech เพื่อได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง สำหรับการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมนั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละแบรนด์ และแต่ละอุตสาหกรรม


โดยมีแกนหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ MarTech ที่ใช่ จะเป็นดังนี้ 1.กำหนดเป้าหมายในการทำการตลาดที่ชัดเจน 2. ระบุปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่ไปถึงเป้าหมาย 3. ทำการระบุว่าปัญหาในข้อ 2 เกิดขึ้นที่ช่องทางไหนและ Engagement กับผู้บริโภคในช่องทางนั้นๆ เป็นอย่างไร มี Platform อะไรที่สามารถแก้ปัญหานั้นได้


และ 4. ทำการเลือกแพลตฟอร์ม ซึ่งเมื่อผ่านขึ้นตอนที่ 3 นักการตลาดจะเริ่มมองแผนการตลาดได้ชัดเจนขึ้น และรู้ว่าวันนี้แบรนด์ควรเลือกเครื่องมือและแพลตฟอร์มใดที่ตอบโจทย์เป้าหมายของแบรนด์ได้มากที่สุด



พล วรรณชนะ
ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและผู้ร่วมก่อตั้ง STEPS Academy บริษัทที่ปรึกษาและให้ความรู้อบรมทางด้าน Digital & Data Marketing เล่าว่า ปัจจุบันในยุคการตลาด 5.0 เน้นการใช้เทคโนโลยี เป็นตัวช่วยเสริมศักยภาพทางการตลาด เพื่อตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก


โดยผ่านมุมมองการใช้ Data ร่วมกับขั้นตอนการสรรหาบุคลากร หรือ “คน” มาเป็นฟันเฟืองหลักในกระบวนการทำงาน วิธีคิด การวางกลยุทธ์ และเครื่องมือ MarTech เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนแบรนด์สู่การทำมาร์เก็ตติ้งทรานส์ฟอร์เมชันให้สำเร็จ โดยลำดับแรกที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญ คือ การวิเคราะห์แบรนด์ของตนผ่าน 6 ขั้นตอน เพื่อสร้างจุดแข็งเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง ได้แก่


1.Define การวิเคราะห์แบรนด์ในมิติต่างๆ 2.Align เช็คลิสต์ความพร้อมด้านทัศนคติและศักยภาพของบุคลากรในองค์กร 3.Team up สร้างทีมงานจากทั้งภายใน และภายนอก 4.Kick off การเริ่มต้นอย่างมีกลยุทธ์ 5.Apply การดึงข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และ 6.Scale วางแผนการตลาดให้เติบโตด้วย Data


โดยทุกขั้นตอนต้องใช้ “คน” เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังนั้น Team up จึงเป็นกุญแจที่สำคัญมาก โดยจำเป็นต้องสร้างทีมทั้งภายในและภายนอก แบรนด์ต้องประเมินความพร้อมขององค์กร



สำหรับองค์กรที่ยังไม่พร้อมต้องเริ่มจากการปรับความคิดของคน เร่งสร้างความพร้อมขององค์กร หรืออาจจะดึง Outsource เข้ามาช่วยทรานส์ฟอร์เมชันการตลาด และแบรนด์ควรจัดอบรมสร้างความพร้อมให้บุคลากร หรือจ้างบุคลากรเพิ่ม


ปัจจุบันองค์กรในไทยเลือกใช้ Outsource หรือใช้ที่ปรึกษาเฉพาะด้าน เป็นแนวทางในการทำมาร์เก็ตติ้ง ทรานส์ฟอร์เมชัน เนื่องจากสามารถกำหนดระยะเวลาได้ตามแผนและเป้าหมายขององค์กร พร้อมยังสามารถลดค่าเสียเวลาในการเพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือสกิลใหม่ๆ ที่องค์กรขาด โดยผู้เชี่ยวชาญสามารถตอบโจทย์ได้มากกว่า เร็วกว่า


พร้อมมีข้อมูลอื่นๆ ที่ช่วยซัพพอร์ตเติมเต็มช่องโหว่ที่องค์กรยังขาดได้ ซึ่งต่างกับการใช้ทีมภายในที่ขาดประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญที่อาจต้องใช้เวลาลองผิด ลองถูก ซึ่งทำให้กระทบกับงานที่อยู่ในองค์กร อาจไม่คุ้มค่า และเสียโอกาสในภาวะการแข่งขันตลาดที่ดุเดือดในปัจจุบัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้