Security Operations ที่ดีสำคัญอย่างไรในโลกธุรกิจ?

Last updated: 21 ธ.ค. 2566  |  611 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Security Operations ที่ดีสำคัญอย่างไรในโลกธุรกิจ?

Fortinet เผยผลสำรวจไอดีซี ชี้สถานการณ์ Security Operations หรือ SecOps ประเทศไทยต้องรับมือกับฟิชชิ่ง และแรนซัมแวร์ที่พุ่งสูงขึ้น พร้อมกระตุ้นให้นำ AI และระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยโดยด่วน

ไอดีซี ได้ทำการสำรวจผู้นำด้านไอที 550 คน ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจด้านการรักษาความปลอดภัยในองค์กร การสำรวจจัดทำขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2566 โดยได้ทำการสำรวจองค์กรที่มีพนักงานทั่วโลกมากกว่า 250–5,000 คน การศึกษาครอบคลุม 11 ตลาด ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

ทั้งนี้มีการเผยแพร่ผลการสำรวจในรูปของ IDC Executive Summary ซึ่งเป็นบทสรุปสำหรับผู้บริหาร โดยการสำรวจครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากฟอร์ติเน็ต ในหัวข้อ The State of SecOps : Asia-Pacific Braces Against Phishing, Ransomware Surge and Alert Fatigue, Urging Swift Adoption of AI, and Automation for Security Operations

ความท้าทายการรักษาความปลอดภัยในปัจจุบัน

ผลสำรวจชี้ว่า ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบมากที่สุด คือ ฟิชชิ่ง และการขโมยข้อมูลส่วนตัวคือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลมากที่สุด ซึ่งองค์กร 50% จัดอันดับให้ภัยคุกคามดังกล่าวเป็นความกังวลใจอันดับต้น ส่วนอันดับที่ 3 เป็นภัยคุกคามจากแรนซัมแวร์ อันดับที่ 4  ช่องโหว่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และอันดีบที่ 5 การโจมตีอุปกรณ์ IoT ซึ่งภาพรวมภัยคุกคามจะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ

ทั้งนี้ มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของแรนซัมแวร์ในประเทศไทยโดยองค์กรจำนวน 56% รายงานถึงการเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่าตัวในปีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

 



แม้ฟิชชิ่งและมัลแวร์คือวิธีหลักในการโจมตี แต่ยังมีการโจมตีที่มีนัยสำคัญอื่นๆ ได้แก่ การโจมตีด้วยการหลอกลวงโดยใช้จิตวิทยาทางสังคม (Social Engineering) ภัยคุกคามจากในองค์กร และการเจาะช่องโหว่ Zero-day

ขณะที่ภัยคุกคามจากในองค์กรและการทำงานระยะไกล โดย 80% ของผู้ร่วมการสำรวจรู้สึกว่าการทำงานระยะไกลทำให้เกิดเหตุคุกคามในองค์กรเพิ่มขึ้น การฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอ และขาดการดูแลเอาใจใส่พนักงาน รวมถึงสื่อสารไม่เพียงพอทำให้การโจมตีดังกล่าวเพิ่มขึ้น ผลสำรวจจึงชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการจัดการเรื่องของคนในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

 

 

อีกทั้งการจัดหาทีมรักษาความปลอดภัยไอทีนั้น มีองค์กรธุรกิจทั่วเอเชียเพียง 50% ที่จัดพนักงานไอทีเพื่อตั้งเป็นทีมรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ ทำให้มีความท้าทายเพิ่มขึ้นในการที่ต้องเสริมประสิทธิภาพเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างจริงจัง


ทั้งนี้ผลกระทบจากเทคโนโลยีเกิดใหม่ ทั้งการทำงานแบบไฮบริด หรือการผสานรวมระหว่าง IT และOT ทำให้เกิดความท้าทายสำคัญ การนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ถือเป็นความท้าทายหลัก ที่ส่งผลกระทบถึงความสามารถในการมองเห็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในองค์กร

การต่อสู้กับการแจ้งเตือนที่มากเกิน

การเตรียมพร้อมและควบคุมภัยคุกคามนั้น 52% ขององค์กรที่เข้าร่วมการสำรวจ แสดงความกังวลถึงความไม่พร้อมในการควบคุมภัยคุกคาม ความไม่พอใจในประเด็นนี้ ย้ำถึงความจำเป็นในการเสริมศักยภาพด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามที่มีพัฒนาการต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเรื่องน่าตกใจก็คือ สามในสี่ขององค์กรไม่ได้มีการประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นประจำ ทำให้ความท้าทายเรื่องการตรวจจับภัยคุกคามได้ทันเวลากลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้น

ทั้งนี้ความเหนื่อยล้าจากการแจ้งเตือนที่มากเกิน (Alert Fatigue) กว่า 50% ขององค์กรที่เข้าร่วมการสำรวจเคยประสบกับเหตุการณ์ภัยคุกคามโดยเฉลี่ย 221 ครั้งต่อวัน และ 2 ใน 5 ขององค์กรต้องรับมือกับเหตุการณ์ที่มากถึง 500 ครั้งต่อวัน นำไปสู่ความเหนื่อยล้าจากการได้รับการแจ้งเตือนจำนวนมาก ซึ่งการแจ้งเตือนสองอันดับต้นคือเรื่องการตรวจจับมัลแวร์หรือไวรัส และบัญชีโดนปิดล็อคการใช้งาน (Accounts Lockouts

ดังนั้นจึงทำให้เห็นถึงความจำเป็นในการจัดฝึกอบรมโดยมุ่งไปที่การสร้างการรับรู้ นอกจากนี้ อีเมลที่น่าสงสัย (ฟิชชิ่ง) รวมถึงพฤติกรรมที่น่าสงสัยของผู้ใช้งาน และความพยายามในการล็อกอินที่ล้มเหลวหลายครั้ง มีส่วนทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในเรื่องนี้เช่นกัน

ส่วนข้อจำกัดด้านเวิร์กโหลดและเวลา โดยเฉลี่ยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้าน SecOps อยู่แค่หนึ่งคนจากจำนวนพนักงานทุก 219 คน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนต้องจัดการกับการแจ้งเตือนประมาณ 35 ครั้งต่อวัน ทำให้เวิร์กโหลดเรื่องนี้กลายเป็นความกดดันหลักของบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เพราะต้องใช้เวลาประมาณ 14 นาที ในการจัดการกับการแจ้งเตือนแต่ละครั้งตลอดระยะเวลา 8 ชั่วโมงของการทำงานในแต่ละวัน

ทั้งนี้ข้อจำกัดด้านเวลาจึงเน้นให้เห็นความจำเป็นเรื่องของกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงเรื่องระบบอัตโนมัติ และการจัดลำดับความสำคัญเพื่อจัดการเวิร์กโหลดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อีกทั้งการรายงานผลลัพธ์ที่ผิดพลาด และเวลาในการตอบสนอง ความท้าทายเรื่องการรายงานผลลัพธ์ที่ผิดพลาดยังมีอยู่ โดยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 60% สังเกตว่าอย่างน้อย 25% ของการแจ้งเตือนที่ได้รับเป็นการรายงานที่ผิดพลาด ทั้งการแจ้งเตือนความปลอดภัยของอีเมลฟิชชิ่ง การแจ้งเตือนเกี่ยวกับทราฟฟิคของอีเมล์ที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว รวมถึงการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการ Lockout ของบัญชีที่ใช้งาน เหล่านี้คือเรื่องหลักที่มีการรายงานพลาด

 



สำหรับการพัฒนาทักษะนั้น 98% ของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่าการพัฒนาทักษะของทีมเพื่อให้ทันกับภาพรวมภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วถือเป็นความท้าทาย ผู้ตอบแบบสำรวจให้ความสำคัญกับความสามารถในการดำเนินงานได้แบบอัตโนมัติ โดย 62% มองว่าเป็นทักษะสำคัญสำหรับทีม SOC (Security Operations Centre)

 


 

โดยเน้นถึงความสำคัญของระบบอัตโนมัติในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ควบคู่ไปกับความสามารถในการจัดการงานได้หลายอย่างพร้อมกันและการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) เหล่านี้คือทักษะการพัฒนาที่จำเป็นต่อการรับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา


ระบบอัตโนมัติใน SecOps ปัจจุบัน

องค์กรส่วนใหญ่ 96% นำระบบอัตโนมัติและเครื่องมือในการจัดการและควบคุม (Orchestration Tools) มาใช้ในการดำเนินการด้านการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเน้นให้เห็นว่าระบบดังกล่าวได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในเรื่องของคุณค่าที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์

แม้ว่าจะมีการใช้เครื่องมือที่เป็นระบบอัตโนมัติกันอย่างแพร่หลาย แต่ผลการสำรวจชี้ว่าองค์กรยังไม่สามารถใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ โดยได้ระบุถึงโอกาสในการปรับปรุงด้านต่างๆ อย่างการตรวจจับและการตอบสนองในรูปแบบของการสตรีมมิ่ง (Streaming Response Triage) การควบคุมเหตุการณ์ การแก้ไขและการกู้คืน รวมถึงการจำกัดภัยคุกคาม

โดยผลลัพธ์ที่ได้ ประมาณ 93% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีประสบการณ์ในการได้รับผลลัพธ์ที่ดีขึ้น โดยระบบอัตโนมัติช่วยปรับปรุงเวลาในการตรวจจับเหตุการณ์คุกคามได้เร็วขึ้นอย่างน้อย 25%

นอกจากนี้แผนงานในอนาคตและบริเวณที่มุ่งเน้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ หลายองค์กรกำลังมุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานอัตโนมัติอย่างจริงจัง เพื่อสร้างกรอบการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่คล่องตัวมากขึ้น เมื่อมองไปข้างหน้า ทุกองค์กร 100% ทั่วเอเชียแปซิฟิกแสดงเจตนารมณ์ในการติดตั้งระบบอัตโนมัติและเครื่องมือควบคุมการทำงานภายใน 12 เดือนข้างหน้า

ทั้งนี้ในเชิงกลยุทธ์ องค์กรเหล่านี้กำลังมุ่งเน้นที่การนำเครื่องมือในระบบอัตโนมัติมาใช้ในการตรวจจับและตอบสนองแบบสตรีมมิ่ง เพื่อเร่งให้สามารถควบคุมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกู้คืนได้เร็วที่สุด

การเตรียมความพร้อมให้ SecOps ในอนาคต

การตรวจจับภัยคุกคามและตอบสนองได้เร็วขึ้น คือสิ่งสำคัญ หลายองค์กรตระหนักดีถึงบทบาทสำคัญของระบบอัตโนมัติที่ให้ศักยภาพการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยไซเบอร์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางเชิงรุกในการสนับสนุนเรื่องความยืดหยุ่นด้านความปลอดภัยในองค์กร ผลสำรวจชี้ว่า 70.7% ขององค์กรทั่วเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญเรื่องการตรวจจับภัยคุกคามได้เร็วขึ้น ในขณะที่ 58.8% มองหาวิธีเพิ่มความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามโดยรวมด้วยระบบอัตโนมัติ

สำหรับระบบอัตโนมัติแบบองค์รวมเพื่อยกระดับการรักษาความปลอดภัยให้ดีขึ้น กว่า 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าความสามารถหลักของระบบอัตโนมัติ คือการเพิ่มความสามารถในการมองเห็น ตอบสนองได้อัตโนมัติ และรู้เท่าทันภัยคุกคาม รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทรัพยากรด้านการรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ และให้ความรู้เท่าทัน โดยการมุ่งเน้นที่ระบบอัตโนมัติแบบองค์รวม คือแนวทางการดำเนินการด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุม

ทั้งนี้ผสมผสานเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการรู้เท่าทันภัยคุกคามพร้อมตอบสนองได้แบบอัตโนมัติ ซึ่งแนวทางดังกล่าวมุ่งเน้นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม ให้ความสามารถในการมองเห็นและนำความรู้เท่าทันมาใช้ประโยชน์เพื่อรับมือกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์แบบไดนามิก

ส่วนลำดับความสำคัญในการรักษาความปลอดภัยในอนาคต องค์กรมากมายต่างมุ่งเน้นความสำคัญที่การลงทุนด้านการดำเนินการรักษาความปลอดภัยใน 12 เดือนข้างหน้า โดยความสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

  1. การเพิ่มความปลอดภัยของเครือข่ายและอุปกรณ์ปลายทาง หรือ Endpoint
  2. การสร้างศักยภาพให้พนักงานเรื่องการรับรู้เกี่ยวกับภัยไซเบอร์
  3. การยกระดับการตามล่าหาภัยคุกคามและการตอบสนอง
  4. การอัปเดตระบบงานสำคัญ
  5. การตรวจสอบการทำงานของระบบรักษาความปลอดภัยโดยลำดับความสำคัญ

เรื่องเหล่านี้สอดคล้องกับภาพรวมภัยคุกคามที่มีการพัฒนาตลอดเวลา และเน้นความสำคัญของการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์เรื่องมาตรการดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ที่ครอบคลุม

 


"ฟอร์ติเน็ต" กับสถานการณ์ SecOps ในไทย

ไซมอน พิฟฟ์ รองประธานฝ่ายวิจัย ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก เล่าว่า การรักษาความปลอดภัยระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ทันสมัย ต้องอาศัยความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการเฝ้าระวัง มีการดำเนินการเชิงรุกและสามารถปรับตัวรับความท้าทายจากการทำงานแบบไฮบริด AI และการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากการควบคุมการทำงานแบบเดิม เป็นการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่เน้นเรื่องความเสี่ยง นับว่าสอดคล้องกับภาพรวมด้านเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง

โดยผลการสำรวจชี้ว่า การผสานการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องมือที่ใช้ความสามารถของ AI และมีการประเมินคนทำงาน มีการเอาท์ซอร์สงานบางส่วน พร้อมนำระบบอัตโนมัติมาใช้เพิ่มขึ้น เหล่านี้เน้นให้เห็นถึงความเร่งด่วนที่องค์กรจำเป็นต้องนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในเชิงกลยุทธ์

ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย เล่าว่า ภาพรวมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีพัฒนาการไปไกลกว่าที่ผ่านมามาก 70.7% ขององค์กรให้ความสำคัญกับการตรวจจับภัยคุกคามได้เร็วขึ้นด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งฟอร์ติเน็ตตระหนักดีถึงความจำเป็นนี้ เพื่อการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการยกระดับมาตรการในการรักษาความปลอดภัยให้เหนือชั้น

ทั้งนี้ระบบอัตโนมัติจึงมีบทบาทสำคัญในการระบุหาและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดช่องโหว่ในการละเมิดได้มาก จากประสบการณ์ที่ลูกค้าพบเจอ จะสามารถตรวจจับได้เฉลี่ย 21 วัน แต่การใช้ AI เข้ามาช่วยเหลือใช้เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง ซึ่งการวิเคราะห์ขั้นสูงแสดงให้เห็นขั้นตอนที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับการป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

 



อีกทั้งเเรื่องของเวลาในการตรวจจับและตอบสนองคือสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง จึงทำให้ระบบอัตโนมัติให้ความสำคัญในการรับมือกับความท้าทายของภัยคุกคามในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา

 



ดร.รัตติพงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย เล่าว่า ด้วยภาพรวมของภัยคุกคามที่พัฒนาไปไกลมาก องค์กรต่างๆ ต้องรับมือกับภัยไซเบอร์หลายรูปแบบที่มุ่งเป้าที่สินทรัพย์ดิจิทัล โดยโซลูชันด้านการดำเนินงานในการรักษาความปลอดภัยของฟอร์ติเน็ต สนับสนุนการทำงานด้วยระบบ AI ขั้นสูง นอกจากจะตอบโจทย์ความจำเป็นเร่งด่วนเรื่องระบบอัตโนมัติแล้ว

ทั้งนี้ยังมีกลยุทธ์ที่ครอบคลุมในการตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความมุ่งมั่นของฟอร์ติเน็ตในการสร้างขุมพลังให้กับองค์กรในการควบคุมการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์แบบไดนามิก สะท้อนอยู่ในโซลูชันนวัตกรรมของฟอร์ติเน็ต ที่ใช้เวลาในการตรวจจับและจำกัดการคุกคามได้แค่หนึ่งชั่วโมงโดยเฉลี่ยและใช้เวลาในการตรวจสอบและแก้ไขเพียง 11 นาทีโดยเฉลี่ย ให้ ROI สูงถึง 579% ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ทีมงานได้ถึงสองเท่า และคาดว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการละเมิดได้มากถึง 1.39 ล้านเหรียญสหรัฐ


 ฟอร์ติเน็ต เป็นแรงผลักดันในการพัฒนาความปลอดภัยทางไซเบอร์และการบรรจบกันของเครือข่ายและความปลอดภัย ภารกิจของเราคือการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้คน อุปกรณ์ และข้อมูลในทุกที่ และวันนี้เรามอบความปลอดภัยทางไซเบอร์ในทุกที่ที่คุณต้องการด้วยพอร์ตโฟลิโอแบบบูรณาการที่ใหญ่ที่สุดของผลิตภัณฑ์ระดับองค์กรกว่า 50 รายการ เรียนรู้เพิ่มเติมที่ Fortinet Blog และ FortiGuard Labs


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้