Last updated: 7 ก.ย. 2566 | 850 จำนวนผู้เข้าชม |
สภาวะโลกร้อนทำให้โรคนี้อุบัติใหม่ขึ้นมามากขึ้น รวมทั้งการเดินทางและการย้ายถิ่นฐานของประชากร ก็ยังคงทำให้ประชาชนทั่วโรคและไทยยังเสี่ยงกับโรคไข้เลือดออกตลอดเวลา จึงถือว่าโรคไข้เลือดออกนี้เป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณะสุขประเทศไทยที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างจริงจัง เชื่อว่าปัญหานี้จะคลี่คลายได้ ถ้าสร้างความรู้ในเรื่องไข้เลือดออกมากขึ้น ความร่วมมือจากเครือข่าย ทั้งในภาครัฐและเอกชน จะสามารถผลักดันให้เกิดกลยุทธ์ ที่จะเสริมกลไกของรัฐในการนำไปสู่การป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน
การลงนามและการผลักดันความร่วมมือใน Dengue-Zero จะถือเป็นภาระกิจเสริม ให้มีการผลักดันดำเนินการหยุดยั้งภัยโรคไข้เลือดออก ได้อย่างต่อเนื่องและรูปธรรม และเป็นการตอกย้ำถึงการรณรงค์ร่วมต่อสู้ เชื่อว่าเครื่อข่ายครั้งนี้มีศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่สูง ช่วยผลักดันเพื่อให้ประเทศปลอดจากไข้เลือดออก โดยที่เราจะทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี
ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การระบาดของไข้เลือดออกในประเทศไทยนั้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนผู้คนกว่า350,000 รายที่ต้องเจ็บป่วยจากโรคนี้ โดยในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้ป่วยพุ่งสูงกว่า 130,000 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากังวล และหากเป็นการระบาดร่วมกับโรคอื่นๆ จะยิ่งนำพามาซึ่งภาระทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว และระบบสาธารณสุขของประเทศ
ดังนั้นจึงเป็นที่มาของความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายองค์กรภาครัฐและเอกชนจำนวน 11 องค์กร ได้แก่ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรงพยาบาลเอกชน สมาคมนักบริหารโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย และบริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้บันทึกความเข้าใจ Dengue-Zero
ภายใต้กรอบการทำงานร่วมกันนี้ ได้ตั้งเป้าหมายหลัก ได้แก่ ลดอัตราการป่วยจากไข้เลือดออกลงให้ได้ร้อยละ 25 หรือให้ไม่เกิน 60,000 รายต่อปี ลดอัตราการเสียชีวิตให้ต่ำกว่า 1:10,000 ราย และควบคุมแหล่งลูกน้ำยุงลายในชุมชนให้ต่ำกว่า 5 หลังคาเรือน จากการสำรวจ 100 หลังคาเรือน โดยพันธกิจร่วมนี้จะต้องลุล่วงภายใต้กรอบการทำงานระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2569) ซึ่งองค์กรพันธมิตรดังกล่าวจะร่วมกันผลักดันให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันไข้เลือดออกผนึกกำลังป้องกันและลดความเสี่ยงต่อไข้เลือดออก รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการป้องกันและควบคุมโรค ตลอดจนสนับสนุนนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมไข้เลือดออก
ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า ไข้เลือดออกส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งสร้างภาระทางสังคมและเศรษฐกิจในระดับประเทศ การไม่สามารถเข้าถึงการรักษาประกอบกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกทำให้ไข้เลือดออกกลายมาเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขมากขึ้นเรื่อยๆการสร้างความตระหนักในความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคเป็นกุญแจสำคัญที่จะต่อสู้กับโรคนี้
โดยพันธมิตรทั้ง 11 องค์กรที่ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจนี้ จะร่วมมือกันทำงานเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยทั้งจากสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน จัดทำการคาดการณ์พื้นที่ความเสี่ยงสูง สื่อสารกับสังคมผ่านโซเชียลมีเดียและพัฒนาโครงการให้ความรู้สำหรับอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยวัตถุประสงค์หลักของการดำเนินการต่าง ๆ เหล่านี้ คือ การเปิดให้ชุมชนมีส่วนร่วม และมีการดำเนินการอย่างมีกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน คือ การกำจัดไข้เลือดออกให้ได้อย่างเด็ดขาดและยั่งยืน
งานของพัทธกิจเครือข่าย
1. มุ่งพัฒนาระบบการป้องกันและการควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างเชิงรุกที่ทันสมัยและเน้นการมีส่วนร่วม
2.มุ่งให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทันสมัย ที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงง่าย และทั่วถึง เพิ่มช่องทางการรับรู้ของชุมชน และบุคลากรที่ทำงานเพื่อชุมชน
3. มุ่งพัฒนาบุคลากรทั้ง พศส. พศว. ร่วมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ ปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้ผลดีตามเป้าหมาย
ปีเตอร์ สตรีบัล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไข้เลือดออกมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ในแต่ละปี มีประชากรทั่วโลกติดเชื้อ 390 ล้านคน โดยจำนวนผู้ป่วยกว่า 96 ล้านคนมีอาการป่วยอย่างรุนแรง ในประเทศไทยเองพบว่าอัตราการติดเชื้อนั้นมีมาอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าโรคนี้ไม่เคยหายไปจากเราและสร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพยากรมากมาย
ดังนั้นเป็นโอกาสที่พวกเราจะรวมพลังกันต่อสู้กับไข้เลือดออก การจะเอาชนะโรคนี้ได้นั้น ไม่สามารถทำได้ด้วยหน่วยงานหรือใครเพียงคนเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีความมุ่งมั่นเดียวกันในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก ทาเคดา มี.ฐยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจ Dengue-Zero นี้ โดยเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของทาเคดาในการมอบสุขภาพที่ดีกว่าให้แก่คนไทย และเราพร้อมสนับสนุนทุกความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน
โดยไข้เลือดออกเป็นโรคที่ระบาดตลอดปี และพบการระบาดสูงสุดในช่วงฤดูฝน โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นพาหะ เป็นแล้วเป็นซ้ำอีกได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสเดงกีมีถึง 4 สายพันธุ์ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่พบมากได้แก่กระถางต้นไม้ จานรองกระถางต้นไม้ ท่อระบายน้ำ ซึ่งเป็นที่วางไข่ของยุงลาย ผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดตา คลื่นไส้ อาเจียน และเกิดผื่นที่ผิวหนัง อย่างไรก็ดี สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจจะมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ มีเลือดออกในทางเดินอาหาร ซึมหรือกระสับกระส่าย มือเท้าเย็นหากผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาลทันที การรักษาเป็นแบบประคับประคองตามอาการเนื่องจากโรคนี้ยังไม่มียารักษาจำเพาะ
10 ก.ย. 2567