Last updated: 4 ต.ค. 2567 | 397 จำนวนผู้เข้าชม |
Synology ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการจัดเก็บและปกป้องข้อมูล เผย 2 เทรนด์สำคัญ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจอย่างรวดเร็วในปี 2024 เทรนด์แรก เรียกค่าไถ่ (Ransomware) พุ่งสูงอัตราการโจมตีสูงถึง 22% ต่อสัปดาห์
และ71% ขององค์กรที่ถูกโจมตีไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้สมบูรณ์ ส่งผลให้องค์กรต่างๆ เผชิญความเสียหายอย่างมหาศาล เทรนด์ที่สอง องค์กรทั่วโลกหันมาใช้ระบบ On-premise Productivity Tools ใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์ตนเอง หลังองค์กรทั่วโลกพบปัญหาข้อมูลรั่วไหลถึง 81%
ล่าสุด Synology เปิดตัว 4 โซลูชันใหม่ ในปี 2024 ออกแบบเพื่อการจัดเก็บและปกป้องข้อมูลอย่างครบวงจร นำ AI เข้ามาช่วยยกระดับการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรในยุคดิจิทัลอย่างตรงจุด
หลังประสบความสำเร็จในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเติบโตถึง 150% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คาดยอดขาย SEA แตะ 45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมเดินหน้าขยายตลาดในไทยซึ่งมีศักยภาพเติบโตต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจากนโยบาย Digital Transformation ของภาครัฐและการเพิ่มขึ้นของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระตุ้นความต้องการโซลูชันด้านความปลอดภัยข้อมูลเพิ่มขึ้น
รหัท บุญตันจีน ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท ซินโนโลจี้ จำกัด (Synology) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมี 2 เทรนด์สำคัญ ที่กำลังมีอิทธิพลต่อองค์กรทั่วโลก ได้แก่ เทรนด์แรก มัลแวร์เรียกค่าไถ่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (Ransomware Protection) การโจมตีทางไซเบอร์โดยเฉพาะ Ransomware ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก มีอัตราการโจมตีเฉลี่ยต่อองค์กรเพิ่มขึ้นถึง 22% ต่อสัปดาห์ ทำให้องค์กรใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนในการกู้คืนข้อมูล
แม้องค์กรที่ยอมจ่ายค่าไถ่ก็ไม่สามารถรับประกันการกู้คืนข้อมูลได้ทั้งหมด จากสถิติพบว่า 71% ขององค์กรที่ถูกโจมตีไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้สมบูรณ์ ทำให้การมีระบบปกป้องข้อมูลที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ กลายเป็นตัวช่วยสำคัญในการลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์
เทรนด์ที่สอง องค์กรทั่วโลกหันมาใช้ระบบ On-premise Productivity Tools ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร ซึ่งถูกติดตั้งและใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์หรือคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรเอง แทนการใช้ออนไลน์ผ่านคลาวด์ (cloud-based services) เพื่อการปกป้องกันข้อมูลรั่วไหลได้มากขึ้น
จากรายงานจาก Varonis ระบุว่า 81% ขององค์กรในปี 2022 ประสบปัญหาข้อมูลรั่วไหล การใช้ On-premise Productivity Tools ช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างละเอียด และยังช่วยลดต้นทุนการจัดการข้อมูลในระยะยาว
ทั้งนี้ในยุคดิจิทัลองค์กรต่างๆ กำลังเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล การจัดการทรัพยากรด้านไอที และความต้องการจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความต้องการนำ AI มาเป็นตัวเสริมศักยภาพการทำงานของทีมและองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเป็นเกราะป้องกันความปลอดภัยที่สูงขึ้น
โซลูชันใหม่จาก Synology จึงถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรที่ต้องการขยายศักยภาพในการปกป้องข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และการนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคง บริษัทจึงได้จัดงาน Synology Solution Day 2024 เพื่อเปิดตัวโซลูชันที่สามารถตอบโจทย์องค์กรทั้งภาคเอกชนและภาครัฐในยุคนี้และอนาคต
โซลูชันการจัดเก็บและการจัดการข้อมูล (Data Storage and Management) Synology เปิดตัว Scale-out solution โซลูชันการจัดเก็บและจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ รองรับการขยายได้ถึง 96 โหนด และรองรับทั้ง File Storage และ Object Storage แพลตฟอร์มนี้ออกแบบมาให้ทำงานได้ต่อเนื่องโดยไม่มีสะดุด พร้อมการรองรับ Synology Drive และ Office ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพในยุคที่ข้อมูลเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
โซลูชันป้องกันข้อมูล (Data Protection) Active Protect Appliances ใหม่จาก Synology ช่วยให้การปกป้องข้อมูลง่ายขึ้น รองรับการปกป้องเซิร์ฟเวอร์ได้มากถึง 2,500 เครื่อง ในหลายไซต์ทั่วโลก ด้วยนโยบายการเก็บรักษาข้อมูลที่ครอบคลุม พร้อมระบบสำรองข้อมูลที่ช่วยลดการทำข้อมูลซ้ำและเพิ่มประสิทธิภาพในการสำรองข้อมูล
โซลูชันระบบบริหารจัดการเฝ้าระวังและเตือนภัยครบวงจร (Surveillance) Surveillance Station ของ Synology ช่วยให้การจัดการระบบเฝ้าระวังในหลายสถานที่เป็นเรื่องง่ายขึ้นจากศูนย์ควบคุมเดียว โดยมีระบบ Centralized Management System (CMS) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการภาพจากกล้องในหลายเซิร์ฟเวอร์ได้ผ่านพอร์ทัลเดียว พร้อมกับ AI Feature ที่จะช่วยให้การเฝ้าระวังทรัพย์สินของคุณปลอดภัยยิ่งขึ้น
ในงานนี้ยังมีการเปิดตัวกล้องรุ่นใหม่ทั้ง FC600 เป็นกล้องมุมกว้าง 360 องศา, BC800Z กล้องที่มีความละเอียดสูงถึง 8 ล้านเมกะพิกเซล สามารถถ่ายภาพได้ในความละเอียด 4K และมีฟีเจอร์ AI เช่น การตรวจจับป้ายทะเบียนรถ เพื่อช่วยในการจัดการที่จอดรถ CC400W กล้อง Wi-Fi ที่ง่ายต่อการใช้งาน รวมไปถึงกล้อง Direct to Cloud ใหม่ล่าสุดเช่น CS500B, CS400W และ CS500T ที่ถูกพัฒนาเพื่อลดความซับซ้อนในการตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์ ช่วยให้การตั้งค่าและการใช้งานระบบเฝ้าระวังง่ายขึ้น
Synology Office Suite โซลูชันการทำงานร่วมกันแบบครบวงจรที่รวมเครื่องมือต่างๆ เช่น Synology Drive, Synology Office, MailPlus, และ Chat ซึ่งผสานรวมกับ Synology AI Console เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทีมภายในองค์กรที่สามารถใช้งานได้แบบ on-premise โดย Synology Office Suite นี้จะช่วยให้การทำงานร่วมกันและการสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่น และให้ความปลอดภัยเต็มประสิทธิภาพบน Private cloud ที่องค์กรเป็นเจ้าของข้อมูล100%
ที่ผ่านมาบริษัทมีมูลค่าตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) เติบโตขึ้น 150% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จากการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และโซลูชันที่ตอบโจทย์ตลาด โดยผลิตภัณฑ์ NAS/SAN ของ Synology มีความยืดหยุ่นและขยายได้สูง เหมาะสำหรับองค์กรทุกขนาด ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ ภาครัฐ และการศึกษา โซลูชันการปกป้องข้อมูลอย่าง Active Backup ยังช่วยปกป้องอุปกรณ์กว่า 20 ล้านรายการ และ Surveillance Station ที่ช่วยดูแลปกป้องสถานที่ต่างๆ กว่า 500,000 แห่งทั่วโลก คาดปีนี้มียอดขาย 45 ล้านเหรียญฯ ในตลาด SEA
นอกจากนี้ Synology ยังมั่นใจในศักยภาพของตลาดประเทศไทย โดยเล็งเห็นโอกาสการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจดิจิทัล รวมถึงการเร่งผลักดันโครงการ Digital Transformation จากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการข้อมูลในยุคดิจิทัล
โดยเฉพาะการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการด้านการปกป้องข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น ด้วยโซลูชันที่ครอบคลุมทั้งการจัดเก็บ การปกป้องข้อมูล และการบริหารจัดการ IT ที่แข็งแกร่ง บริษัทมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถเติบโตและขยายฐานลูกค้าในประเทศไทยได้อย่างมั่นคง ตอบโจทย์องค์กรในภาคธุรกิจ รัฐบาล และการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัลที่ความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่ง
25 มิ.ย. 2567
13 มิ.ย. 2567