Last updated: 21 ธ.ค. 2566 | 204 จำนวนผู้เข้าชม |
Label Press LP350 เครื่องพิมพ์สลากสินค้าดิจิทัลคุณภาพสูง ด้วยเทคโนโลยีอิงค์เจ็ทของฟูจิฟิล์ม ด้วยการพิมพ์ระบบเฟลกโซ
บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่ล่าสุด FUJIFILM Digital UV Inkjet Label Press LP350 (LP350) ในประเทศไทย พร้อมให้ผู้ที่สนใจได้สัมผัสและทดลองใช้งานแล้วที่ศูนย์สาธิต FUJIFILM Asia Pacific Demo Center ที่นิคมสินสาคร
โดยเครื่องพิมพ์ LP350 ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดการพิมพ์ฉลากสินค้าที่กำลังเติบโตสูงขึ้นสำหรับงานพิมพ์จำนวนน้อย (Short run) และเวลาในการทำงานที่สั้นลง เครื่องพิมพ์รุ่นใหม่ได้ผสานเทคโนโลยีหมึกพิมพ์ UV ที่พัฒนาขึ้นใหม่ให้เข้ากับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทอันทรงพลัง พร้อมมอบการพิมพ์คุณภาพสูงพร้อมประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อรองรับตลาดการพิมพ์ฉลากสินค้าดิจิทัล
เครื่องพิมพ์ LP350 ของฟูจิฟิล์ม ใช้หมึกพิมพ์ CMYK และเพิ่มหมึกสีส้มกับสีม่วง จึงสามารถครอบคลุมขอบเขตสี Pantone ได้มากถึง 94% ซึ่งเป็นสิ่งที่ตลาดการพิมพ์ฉลากสินค้าระดับพรีเมี่ยมให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ การมีหมึกพิมพ์สีขาวอีก 2 ช่อง(channels) ที่สร้างงานพิมพ์ที่มีความทึบแสงสูง เพื่อการสร้างฉลากสินค้าหลากหลายรูปแบบ พร้อมด้วยความละเอียดในการพิมพ์ที่ 600 x 600 dpi ที่ระดับสีเทา 4 ระดับและการออกแบบวิธีการแห้งตัว(Curing) ของหมึกพิมพ์ในระหว่างการพิมพ์ (Interstation UV Pinning) ที่ช่วยมอบสีสันและความคมชัดที่โดดเด่น
เครื่องพิมพ์ LP350 มอบประสิทธิภาพในการผลิตงานพิมพ์ที่ยอดเยี่ยม โดยมีความเร็วในการพิมพ์ได้ถึง 50 เมตรต่อนาที เครื่องพิมพ์มีให้เลือก 2 รุ่น ตามขนาดความกว้างของวัสดุพิมพ์ ได้แก่ 350 มม. และ 230 มม. เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ยิ่งไปกว่านั้นการเปลี่ยนวัสดุพิมพ์ก็ทำได้ง่ายดายภายในไม่กี่นาทีเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประหยัดเวลา
นอกจากนี้ เครื่องพิมพ์ LP350 ยังโดดเด่นด้านการใช้งานที่เอนกประสงค์ โดยมาพร้อมหมึกพิมพ์ UV ที่พัฒนาขึ้นใหม่ที่สามารถทนทานต่อสภาวะต่าง ๆ เช่น แรงกดทับที่พื้นผิว ทนทานต่อแสง, น้ำและสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งเหมาะกับงานพิมพ์ฉลากสินค้าในรูปแบบต่างๆ หมึกพิมพ์ดังกล่าวยังเหมาะสำหรับการพิมพ์ซ้ำ ช่วยสร้างความทึบแสงและมอบสีสันที่สดใส ทั้งยังใช้ได้กับวัสดุพิมพ์ฉลากสินค้าที่ใช้โดยทั่วไปและหลากหลายได้ อาทิ ฟิล์มใส,เมทัลไลซ์และกระดาษทั้งแบบเคลือบผิวและไม่เคลือบผิว
เครื่องพิมพ์ LP350 ยังมาพร้อมคุณสมบัติการทำงานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ระบบ Corona Media Treatment เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะของหมึกพิมพ์, อุปกรณ์กำจัดไฟฟ้าสถิตย์ที่มากับเครื่องพิมพ์, ชุดทำความสะอาดวัสดุพิมพ์ที่ปรับแต่งได, ลูกกลิ้งระบายความร้อนสำหรับงานพิมพ์วัสดุแบบหดตัว (shrink) และระบบการแห้งตัวของหมึกพิมพ์ด้วย UV หลังการพิมพ์งาน
ทั้งนี้ ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) ยังมีโซลูชั่นผลิตภัณฑ์อนาล็อกสำหรับการพิมพ์ระบบเฟลกโซ เช่น หมึกพิมพ์สำหรับเครื่องพิมพ์ Narrow Web, แม่พิมพ์เฟลกโซ รุ่น “Flenex” สำหรับการพิมพ์ฉลากสินค้าและด้วยการเปิดตัวเครื่องพิมพ์ดิจิทัลรุ่นใหม่อย่าง LP350 ฟูจิฟิล์มจึงพร้อมมอบโซลูชันการพิมพ์ระบบเฟลกโซที่ครบวงจร ครอบคลุมทั้งการพิมพ์อนาล็อกและดิจิทัลอย่างแท้จริง
โทชิอากิ โอกาดะ ผู้จัดการฝ่ายเทคนิคระดับภูมิภาค ฟูจิฟิล์ม เอเชีย แปซิฟิก และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) เล่าว่า
การเปิดตัวเครื่องพิมพ์ดิจิทัลรุ่นใหม่นี้ถือเป็นการเติมเต็มไลน์สินค้าสำหรับโซลูชันการพิมพ์ดิจิทัลสำหรับบรรจุภัณฑ์ของฟูจิฟิล์ม นับเป็นความสำเร็จก้าวใหม่ที่น่าตื่นเต้นของบริษัท
ทั้งนี้ด้วยแนวคิดหลัก Never Stop Believing in Print ของฟูจิฟิล์ม โดยเครื่องพิมพ์ LP350 เป็นเครื่องพิมพ์ที่เกิดจากความเชี่ยวชาญในระบบการพิมพ์อิงค์เจ็ทผสานกับประสบการณ์อันยาวนานของเราในการผลิตหมึกพิมพ์และแม่พิมพ์คุณภาพสู่อุตสาหกรรมการพิมพ์ระบบเฟลกโซ
อีกทั้งเครื่องพิมพ์ LP350 นั้นออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นในอุตสาหกรรมการพิมพ์ฉลากสินค้าที่ต้องการงานจำนวนน้อย แต่ยังคงคุณภาพและความหลากหลายของงานพิมพ์ไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม จึงพร้อมช่วยขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ กลุ่ม MSME ตลอดจนผู้ให้บริการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจบรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าคุณภาพสูงที่คุ้มค่ากับการลงทุน
เครื่องพิมพ์สลากสินค้ารุ่น Label Press LP350 พร้อมให้ผู้ที่สนใจเข้าทดลองใช้งานเครื่องพิมพ์และเปรียบเทียบคุณภาพงานพิมพ์ก่อนการตัดสินใจซื้อเครื่องพิมพ์ได้แล้ววันนี้ที่ศูนย์สาธิต Fujifilm Asia Pacific Demo Center ภายในนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สินสาคร จังหวัดสมุทรสาคร สามารถติดต่อเพื่อเข้าชมได้ที่แผนกกราฟิก คอมมูนิเคชั่น หรือ ไลน์ @FUJIFILM Graphic-TH
25 ก.ค. 2567
13 มิ.ย. 2567
2 ส.ค. 2567
10 ก.ย. 2567